ประวัติ/แนะนำตัว
ข้อมูลผู้สมัคร
1. ชื่อ ดร. สมหมาย เตชวาล
2. ตำแหน่งปัจจุบัน รองประธานคณะอนุกรรมการสาขาธรณีวิทยา สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. ประวัติการศึกษา
- วิทยาศาสตร์บัณฑิต (ธรณีวิทยา) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2525
- Postgraduate Diploma (Applied Geophysics) Leeds University, UK, 2533
- Ph.D., Geophysics, Leeds University, UK, 2538
4. ประสบการณ์การทำงาน
- งานสำรวจและจัดทำแผนที่ธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี, 2526-2527
- International Logging International Inc. ตรวจสอบทางธรณีวิทยาในหลุมเจาะสำรวจปิโตรเลียม, 2527 – 2528
- เข้ารับราชการที่กรมทรัพยากรธรณีในตำแหน่งนักธรณีวิทยา มีความก้าวหน้าเป็นลำดับ ได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งผู้อำนวยการกองอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรณี ผู้อำนวยการศูนย์สนเทศทรัพยากรธรณี ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ตรวจราชการ ผู้อำนวยการสำนักธรณีวิทยา รองอธิบดี และอธิบดี, 2528 – 2564
- ประธานกรรมการ, กรรมการ, คณะกรรมการประสานงานเกี่ยวกับการสำรวจทรัพยากรธรณีในภูมิภาคเอเซียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ (CCOP), 2561 – 2564 (ประธาน ม.ค. - ก.ย. 2564)
- กรรมการสถาบันอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ, 2561 – 2564
- นายกสมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย, 2561 – 2565
- ที่ปรึกษาสมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย, 2565 – 2566
- นายกสมาคมนักศึกษาเก่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2563 – 2566
- กรรมการสมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัย เชียงใหม่, 2564 – ปัจจุบัน
5. ผลงานสำคัญที่ปฏิบัติในฐานะบุคลากรหลักและในฐานะผู้บริหารองค์กร
- การผลักดันการปฏิรูปการบริหารจัดการแร่
- การพัฒนาอุทยานธรณีในประเทศไทย การผลักดันคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการถ้ำแห่งชาติ และคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอุทยานธรณี
- การผลักดันให้ Guinness World Records บันทึกสถิติไม้กลายเป็นหินที่ยาวที่สุดในโลกที่ จ.ตาก
- การผลักดันให้วิชาชีพธรณีวิทยา เป็นวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม
- การกู้ภัย 13 หมูป่า ในปี 2561 บูรณาการงานธรณีวิทยาและวิศวกรรมสู่ความสำเร็จในการลดระดับน้ำในถ้ำ ทำให้หน่วยซีลสามารถเข้าไปปฏิบัติการนำเด็กออกจากถ้ำได้ด้วยความปลอดภัย
6. เกียรติประวัติ
- รางวัลข้าราชการพลเรือนดีเด่น พ.ศ. 2542
- รางวัลนักศึกษาเก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2562
- รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2562
วิสัยทัศน์
“ส่งเสริมให้สมาชิกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบวิชาชีพอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน”
แนวทางการบริหาร
1. สนับสนุนให้วิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกสาขาและสมาชิก สชวท. มีส่วนร่วมในการบริหารสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. เร่งสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสาธารณชนเกี่ยวกับบทบาทของสภาฯ รวมถึงบทบาทในการให้คำปรึกษา/ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในการขับเคลื่อนงานวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. ร่วมมือกับส่วนราชการ สถาบันการศึกษา เอกชน หรือสมาคมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในและต่างประเทศในการพัฒนาองค์ความรู้และมาตรฐานทางวิชาการให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
4. ส่งเสริมให้กำหนดวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาที่เข้าข่ายเป็นวิชาชีพควบคุม ให้เป็นวิชาชีพควบคุม โดยความร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
5. เสริมสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับสมาชิกเพื่อร่วมกันพัฒนาวิชาชีพและบรรเทาแก้ไขปัญหาของสภาฯ และสมาชิก