ประวัติ/แนะนำตัว
ประวัตฺิ
ข้าราชการบำนาญ
ที่อยู่ปัจจุบัน 90 ซอย 2 หมู่ 13 บ้านป่าแดดกลาง ตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
E-mail: adichatx205@gmail.com
ประวัติการศึกษา
ปริญญาเอก (Ph.D) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สาขาธรณีวิทยา
ปริญญาโท (M.Sc./ Geophysics) University of Western Ontario, Canada
2522 ปริญญาตรี (วท.บ.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สาขาธรณีวิทยา
ประวัติการทำงาน
-Director of CCOP Technical Secretariat (Coordinating Committee for Geoscience Programmes in East and Southeast Asia
-ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรแร่
-ผู้ตรวจราชการกรม
-ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ปรึกษาทางการบริหารจัดการทรัพยากรธรณี
-ผู้อำนวยการสำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย
-ผู้อำนวยการกองธรณีเทคนิค
การปฏิบัติงานพิเศษ
-เลขาธิการคณะกรรมการด้านวิทยาศาสตร์(ธรณีวิทยา)ของ UNESCO ประจำประเทศไทย
-ผู้แทนสมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย ประจำสภาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
วิสัยทัศน์
"บริหารงานสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมีส่วนร่วม บนหลักธรรมภิบาล และส่งเสริมให้สมาชิก สชวท. ประกอบวิชาชีพอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี มีการทำงานอย่างมืออาชีพด้วยมาตรฐานอันเป็นที่เชื่อมั่นของสาธารณชน"
9.แนวทางการบริหาร
1. สนับสนุนให้วิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกสาขาและสมาชิก สชวท. มีส่วนร่วมในการบริหารสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2551 และ อนุบัญญัติให้ทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น การปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการที่เห็นสมควรกำหนดให้มีกรรมการมาจากสาขาชีพควบคุมครบทุกสาขา รวมถึงการกำหนดจำนวนกรรมการที่เหมาะสม และการสร้างกลไกที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การพัฒนางานวิจัยและมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ เป็นต้น
2. เร่งสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสาธารณชนเกี่ยวกับบทบาท ของสภาฯ ในการส่งเสริมให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีมาตรฐานการทำงาน มีการบริการประชาชนอย่างมืออาชีพ บทบาทในการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและสร้างความเข้าใจต่อสาธารณชนกรณีเกิดเหตุภัยพิบัติหรือกรณีอันเป็นที่สนใจของสาธารณชนที่มีผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าไปเกี่ยวข้อง รวมถึงบทบาทในการให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในการขับเคลื่อนงานวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. ร่วมมือกับส่วนราชการ สถาบันการศึกษา เอกชน หรือสมาคมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในและต่างประเทศในการพัฒนาองค์ความรู้และมาตรฐานทางวิชาการให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมถึงความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาให้ผลิตทรัพยากรบุคคลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สอดรับกับตลาดแรงงานที่ต้องใช้บริการของนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะงานในสาขาวิชาชีพควบคุม
4. ส่งเสริมให้กำหนดวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาที่เข้าข่ายเป็นวิชาชีพควบคุม ให้เป็นวิชาชีพควบคุม โดยความร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
5. เสริมสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับสมาชิกเพื่อร่วมกันพัฒนาวิชาชีพและบรรเทาแก้ไขปัญหาของสภาฯ
6. สนับสนุนให้สมาชิก สชวท. นำความรู้และประสบการณ์ ไปเผยแพร่ และแบ่งปันให้กับชุมชนที่ไม่มีศักยภาพในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี