ประวัติ/แนะนำตัว
ชื่อ – สกุล : นายกิตติชัย ดวงมาลย์
ตำแหน่ง : รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ คณะสิ่งแวดล้อม
หน่วยงาน : คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประวัติการศึกษา :
ปริญญาตรี วท.บ. (เคมีการเกษตร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2538
ปริญญาโท วท.ม. (วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2541
ปริญญาเอก ปร.ด. (วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2557
ประสบการณ์ :
การดำรงตำแหน่ง
พฤษภาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสิ่งแวดล้อม
ตุลาคม 2564-ปัจจุบัน กรรมการสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วาระ 4
ตุลาคม 2559-ปัจจุบัน ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม ประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2555-ตุลาคม 2558 ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม ประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2566-ปัจจุบัน รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ คณะสิ่งแวดล้อม
2562-2566 รองคณบดีฝ่ายวางแผนและกายภาพ คณะสิ่งแวดล้อม
2558-2562 รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและกายภาพ คณะสิ่งแวดล้อม
2555-ปัจจุบัน อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2544-2555 อาจารย์ประจำวิทยาลัยสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิชาที่สอน
1) วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมประยุกต์
2) การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
3) การจัดการสิ่งแวดล้อมแบบผสมผสาน
4) เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมเชิงระบบ
5) ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ทางสิ่งแวดล้อม
6) การจัดการแบบผสมผสานระบบลุ่มน้ำ
7) สาขาที่เชี่ยวชาญ คุณภาพอากาศ เสียง และการสั่นสะเทือน
ประสบการณ์ทำงาน
1. ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม / ผู้จัดการโครงการ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประเภทโครงการคมนาคม (รถไฟฟ้า) โครงการแหล่งน้ำ (อ่างเก็บน้ำ) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555-ปัจจุบัน
2. ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม / ผู้จัดการโครงการ การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547-ปัจจุบัน
3. ผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพอากาศ เสียงและสั่นสะเทือน โครงการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมประเภทต่างๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2543-ปัจจุบัน
วิสัยทัศน์และแนวทางการบริหาร
(ไม่เกิน 1 หน้า A4 ตัวอักษร TH SarabunPSK 16)
วิสัยทัศน์
พัฒนาวิชาชีพให้ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของสังคม
แนวทางการบริหาร
1. การยกระดับมาตรฐานและคุณภาพการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาความรู้ ทักษะและขีดความสามารถของสมาชิกในด้านต่างๆ โดยให้ความสำคัญกับผู้ประกอบวิชาชีพที่มีความเฉพาะทาง ให้มีการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์และวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม เพื่อให้มีความสามารถเทียบเท่าระดับสากลและเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน ด้วยการสนับสนุนให้มีการจัดฝึกอบรม สัมมนา บรรยายเชิงวิชาการ และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการนำเครื่องมือสมัยใหม่มาช่วยให้มีความถูกต้อง แม่นยำและมีความน่าเชื่อถือ
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการยกระดับความรู้ความสามารถของวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้สอดคล้องกับความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ โดยการยกร่างมาตรฐานวิชาชีพและความเชี่ยวชาญเฉพาะ และผลักดันให้มีการพัฒนาเป็นมาตรฐานวิชาชีพเป็นที่ยอมรับของภาคส่วนต่างๆ ทั้งในประเทศ ภูมิภาค และระดับสากล
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีความร่วมมือร่วมใจจากสมาชิกที่มีความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลากหลายสาขา เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ที่มีการวิเคราะห์จากมุมมองหลายมิติ อันจะนำไปสู่การยกระดับมาตรฐานคุณภาพของวิชาชีพที่มาจากความสามัคคีของสมาชิกที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในแต่ละด้าน