ประวัติ/แนะนำตัว
นางรังษิยา กมลพนัส
ตำแหน่ง : ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม/ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม
ประวัติการศึกษา : วท.บ. (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกวิทยาศาสตร์สุขาภิบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, พ.ศ. 2529/วท.ม. (เทคโนโลยีการบริหารสิ่งแวดล้อม) มหาวิทยาลัยมหิดล, พ.ศ. 2533
ประสบการณ์การทำงาน : อายุงาน 35 ปี ในหน่วยงานต่างๆ ปัจจุบันเป็นนักวิชาการสิ่งแวดล้อม/ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม/ผู้จัดการโครงการ ของบริษัท เอเซีย แล็ป แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด รับผิดชอบในการกำหนดแนวทางการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมรวมทั้งตรวจสอบความถูกต้องต่อเนื่องและสอดคล้องของรายงาน โครงการพัฒนาต่างๆ
วิสัยทัศน์
ส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีคุณภาพได้ตามมาตรฐานสากล
แนวทางการบริหาร
1. ยกระดับมาตรฐานและคุณภาพการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาความรู้ ทักษะและขีดความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการสนับสนุนให้มีการจัดฝึกอบรม สัมมนา บรรยายเชิงวิชาการ และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งมีความน่าเชื่อถือและเป็นสากล
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการยกระดับความรู้ความสามารถของวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้สอดคล้องกับความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในแต่ละสาขา โดยผลักดันให้มีมาตรฐานวิชาชีพและความเชี่ยวชาญเฉพาะเป็นที่ยอมรับของภาคส่วนต่างๆ ทั้งในประเทศ ภูมิภาค และระดับสากล
2. สร้างการตระหนักรู้ การรักษาวินัยและควบคุมจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพ
- ผลักดันให้สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นองค์กรที่ปรึกษา และให้ความช่วยเหลือสนับสนุนสมาชิกผู้ซึ่งประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ประสบปัญหาหรือได้รับผลกระทบจากการประกอบวิชาชีพด้วยสุจริตภายใต้กรอบจรรยาบรรณวิชาชีพ ให้ได้รับความเป็นธรรมและสามารถเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเสมอภาค เช่น สนับสนุนให้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ที่มีอำนาจหน้าที่ให้คำปรึกษา และช่วยเหลือสมาชิกตามขอบเขตอำนาจและหน้าที่ที่เหมาะสม เป็นต้น
3. บทบาทในเวทีสาธารณะ
- ผลักดันให้สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าไปมีส่วนร่วมเป็นกรรมการ ผู้แทน องค์คณะพิจารณาหรือกลั่นกรอง ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิ ในกระบวนการพิจารณาให้ความเห็นต่อประเด็นที่เกี่ยวข้องกับทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- ส่งเสริมให้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และแสดงความเห็นทางวิชาการในฐานะการเป็นองค์กรซึ่งรวบรวมองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากสมาชิกในหลากหลายสาขา เพื่อให้สาธารณชนได้รับรู้ รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องทางด้านวิชาการ เช่น ให้ความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน การให้ข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์ประกอบความเห็นที่มีต่อเหตุอุบัติต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ณ ปัจจุบัน เป็นต้น